วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไปไม่ถึงฝั่ง RIM เลิกผลิต BlackBerry PlayBook ความจุ 16GB แล้ว




     หลังจากพยายามผลัก ดันแท็บเล็ต (Tablet) รุ่นแรกของแบรนด์อย่าง BlackBerry PlayBook ให้ประสบความสำเร็จในตลาดแท็บเล็ต แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถทำได้ จนในที่สุด RIM ตัดสินใจที่จะเลิกผลิต BlackBerry PlayBook รุ่นความจุ 16GB แล้ว ซึ่งรุ่นที่จะวางในตลาดนั้น จะเหลือเพียง BlackBerry PlayBook ความจุ 32GB และ 64GB เท่านั้น


     โดย RIM ให้เหตุผลเกี่ยวกับสาเหตุที่เลิกผลิต BlackBerry PlayBook รุ่น 16GB เป็นเพราะว่า รุ่นที่มีความจุเยอะกว่า น่าจะมีคุณค่ามากกว่า แต่หลายฝ่ายเชื่อว่า เป็นเพราะ BlackBerry PlayBook รุ่น 16GB นั้น ได้กำไรน้อย และขายไม่ค่อยดี จึงตัดสินใจตัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ด้วยการเลิกผลิตซะเลย
ถึงแม้ว่า BlackBerry PlayBook จะไม่ประสบความสำเร็จในตลาดแท็บเล็ตเอาเสียเลย แต่ก็มีข่าวลือว่า RIM เอง ก็เตรียมเปิดตัว BlackBerry PlayBook รุ่นรองรับเครือข่าย 4G ด้วยครับ แต่คาดว่า น่าจะมีเฉพาะรุ่นความจุ 32GB และ 64GB เท่านั้น


รายละเอียดเพิ่มเติม : phonearena.com

Samsung Galaxy S III สมาร์ทโฟนสุดล้ำแห่งยุค มาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ครบครันทุกการใช้งาน (Samsung Galaxy S 3 review)



     เดินทางมาถึงเมืองไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กับ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) สมาร์ทโฟนรุ่นที่ 3 ในตระกูล Galaxy S ที่เปิดจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา โดย Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ถือว่า เป็นสมาร์ทโฟนที่มีการเติบโตขึ้นมาก จากสมาร์ทโฟนรุ่นพี่เลยก็ว่าได้ครับ ดังจะเห็นได้จากข่าวลือ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ต่างๆ ในช่วงก่อนเปิดตัว ที่มีคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อีกทั้ง ยังมียอดสั่งจองสูงถึง 9 ล้านเครื่อง ก่อนเปิดวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการอีกด้วย


    สำหรับความโดดเด่นของ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) นั้น นอกจากตัวเครื่องจะมี หน้าจอแสดงผลขนาด 4.8 นิ้วแล้ว ยังมาพร้อมกับความแรงระดับ Quad-core ด้วยซีพียู ARM Cortex A9 (Exynos 4212 chipset) ความเร็วในการประมวลผล 1.4 GHz เลยทีเดียว เรียกได้ว่า ใครที่ชอบสมาร์ทโฟนแรงๆ หน้าจอใหญ่ๆ คงจะถูกใจได้ไม่ยากครับ นอกจากนี้ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ยังเน้นในเรื่องของนวัตกรรมใหม่ๆ มากมาย รวมไปถึงฟีเจอร์การใช้งานต่างๆ ที่ Galaxy S 2 รุ่นก่อนหน้า ไม่เคยมีมาก่อนอีกด้วย
 
    ส่วนราคา Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ในประเทศไทย อยู่ที่เครื่องละ 21,900 บาท


- จอแสดงผลกว้าง 4.8 นิ้ว แบบ HD Super AMOLED Capacitive Touchscreen ความละเอียด 720 x 1280 พิกเซล
- ระบบประมวลผลแบบ Quad-Core ARM Cortex-A9 (Exynos 4212 Chipset) Processor ความเร็ว 1.4 GHz
- หน่วยประมวลผลภาพ (GPU) Mali-400MP
- ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0.4 Ice Cream Sandwich
- หน่วยความจำ RAM ขนาด 1GB
- หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง ขนาด 16GB, 32GB และ 64GB
- รองรับเครือข่าย 2G, 3G และ 4G
- รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi, Bluetooth 4.0, GPS (A-GPS)
- User Interface แบบ TouchWiz 4.0 UI


แกะกล่อง Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3)




    สำหรับกล่องบรรจุ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) นั้น มีขนาดที่ไม่ใหญ่จนเกินไป โดยด้านหน้า มีตัวอักษร Samsung Galaxy S III อย่างชัดเจน ส่วนรายละเอียดด้านข้างนั้น จะเป็น serial number และสีของตัวเครื่อง โดย Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ที่จะมารีวิวในวันนี้ เป็นสีขาว Marble White แต่ข้างกล่องระบุว่าเป็นสี Ceramic White ซึ่งถ้าหากเป็นเครื่องสีขาว ตัวกล่องจะเป็นสีขาว ส่วนเครื่องสีน้ำเงิน Pebble Blue ตัวกล่องจะเป็นสีน้ำเงิน





ด้านในSamsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) สีขาว Marble White




อุปกรณ์ด้านในกล่อง มีทั้งหมด 3 ชิ้นด้วยกัน




ที่ชาร์ตแบตเตอรี่ มีขนาดที่เล็ก กระทัดรัด


     


    microUSB data cable สำหรับต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อถ่ายโอนข้อมูล และเสียบเข้ากับที่ชาร์ตแบตเตอรี่ เพื่อชาร์ตแบต






Headset สำหรับใช้งานเป็นหูฟัง หรือใช้เป็นไมโครโฟนสำหรับสนทนา


รูปลักษณ์ และการออกแบบ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3)



 


Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) หน้าจอขนาด 4.8 นิ้ว แบบ แบบ HD Super AMOLED Capacitive Touchscreen ความละเอียด 720 x 1280 พิกเซล





             ส่วนประกอบด้านบนจอแสดงผล (จากซ้ายไปขวา) ได้แก่ ไฟแสดงสถานะ LED, ลำโพงสำหรับสนทนา, Ambient Light sensor สำหรับตรวจจับสภาพแสง และปรับหน้าจอให้สว่างตามสภาวะนั้นๆ, Proximity sensor สำหรับปิดหน้าจออัตโนมัติขณะสนทนา เพื่อประหยัดพลังงาน และกล้องด้านหน้า ความละเอียด 1.9 ล้านพิกเซล


               สำหรับไฟแสดงสถานะ LED นั้น สามารถเลือกให้แจ้งเตือนทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกันคือ ชาร์ตแบตเตอรี่, Missed call หรือเมสเสจที่ไม่ได้เปิดอ่าน และพวก event ต่างๆ ที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งสามารถเลือกได้จากหน้า settings 


     

       ด้านล่าง มีปุ่มการใช้งานทั้งหมด 3 ปุ่มด้วยกัน โดย 2 ปุ่มซ้ายขวา คือปุ่ม Menu กับปุ่ม Back ซึ่งเป็นปุ่มแบบ capacitive button โดยไฟจะสว่างขึ้นเมื่อมีการสัมผัสหน้าจอ หรือกดใช้งาน ส่วนปุ่มตรงกลางนั้น คือปุ่ม Home ซึ่งเป็นปุ่มแบบ physical button




        ด้านบนตัวเครื่อง เป็นไมโครโฟนตัวที่สอง สำหรับตัดเสียงรบกวนรอบข้าง และหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร




ด้านล่าง เป็น microUSB port และ ไมโครโฟนสำหรับสนทนาตัวหลัก





ปุ่มปรับเสียง อยู่ด้านซ้ายของตัวเครื่อง




ด้านขวาของตัวเครื่อง เป็นปุ่มเปิด-ปิด-ล็อคเครื่อง





      มาดูด้านหลังตัวเครื่องกันบ้าง สำหรับ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) สีขาว Marble White นี้ ที่เห็นในภาพ ฝาหลังจะดูเป็นสีขาวล้วน แต่จริงๆ แล้ว ฝาหลังของ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) สีขาวนี้ จะมีลวดลายเล็กน้อยครับ ลักษณะเป็นเหมือนคลื่นๆ ใครที่ได้เห็นตัวจริงแล้ว คงจะนึกภาพออก




      มาดูส่วนประกอบด้านหลังตัวเครื่องกันบ้าง ด้านซ้ายสุด เป็นไฟแฟลช LED ตามมาด้วย กล้องดิจิตอล ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล และลำโพง




แกะฝาหลังออกดูบ้าง




จะพบกับช่องสำหรับ microSD card, ช่องสำหรับ SIM card และแบตเตอรี่




แบตเตอรี่ขนาด 2100 mAh






เปรียบเทียบกับ ไอโฟน 4S (iPhone 4S) สีขาว ดูเครื่องเล็กไปถนัดตา





เปรียบเทียบกับ HTC One X หน้าจอเล็กกว่าเล็กน้อย 4.7 นิ้ว




       ดูการเปรียบเทียบด้านข้างกันบ้าง จะเห็นว่า Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ตัวเครื่องยาวกว่าเล็กน้อย

 
ฟีเจอร์น่าสนใจบน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3)


Home screen และ Task manager


     สำหรับ User Interface ที่ใช้บน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) นั้น เป็น TouchWiz 4.0 UI บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0 Ice Cream Sandwich ที่ให้ความรู้สึกแบบธรรมชาติครับ ส่วนหน้า Home screen นั้น สามารถเพิ่มได้สูงสุดที่ 7 หน้าจอ และเปลี่ยน Widgets หรือแอพพลิเคชั่นได้ตามใจชอบ


     ในส่วนของหน้า Task manager หรือหน้าการจัดการแอพพลิเคชั่นนั้น สามารถเข้าสู่หน้าจอนี้ได้โดยการกดปุ่ม Home ค้างไว้ ซึ่ง การปิดแอพพลิเคชั่นที่ไม่ต้องการใช้งาน สามารถทำได้โดยปัดนิ้วเพื่อ หรือถ้าหากต้องการปิดทุกแอพพลิเคชั่น ให้กดที่ปุ่ม ลบออกหมด (Remove All)


App drawer


     หน้า app drawer บน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) จะมีการแบ่งแยกส่วนที่เป็น แอพพลิเคชั่น และ Widgets อย่างชัดเจน โดยในหน้านี้ สามารถเลือก view mode ได้ทั้งหมด 3 แบบคือ แบบ Customizable Grid สามารถจัดเรียงไอคอนที่มีความสำคัญก่อนหลังได้ตามใจชอบ, Alphabetical grid จัดเรียงตามตัวอักษรแบบตาราง (แบบที่ปรากฎตามภาพ) และ Alphabetical list จัดเรียงตามตัวอักษรแบบลิสรายชื่อ




    สำหรับการเปลี่ยนภาพวอลเปเปอร์ สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการจิ้มค้างที่หน้า Home screen จะ ปรากฎหน้าจอขึ้นมาให้เลือก โดยภาพวอลเปเปอร์นั้น มีให้เลือกทั้งภาพวอลเปเปอร์แบบนิ่ง และเคลื่อนไหว รวมถึงสามารถเลือกภาพส่วนตัว มาตั้งเป็นวอลเปเปอร์ได้ด้วย


Notifications


      ในส่วนของ Notifications หรือการแจ้งเตือนนั้น นอกจากจะเป็นการแจ้งเตือนในเรื่องต่างๆ แล้ว ยังมีปุ่ม toggle มาให้เลือกถึง 10 ปุ่มด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi, GPS, เปิด-ปิดเสียง (Sound), ล็อคการหมุนของหน้าจอ (Screen rotation), แจ้งเตือน (Notification), Mobile data, Bluetooth, โหมดขับรถ (Driving mode) และสุดท้าย Sync


       นอกจากนี้ ในส่วนของ Notifications นั้น ยังมีปุ่มลัด เข้าหน้า Settings อีกด้วย




        มากันที่การใช้งานด้านเบราเซอร์กันบ้างครับ ซึ่งการตอบสนองการใช้งานในส่วนนี้ ถือว่า ทำได้ดีเลยทีเดียว


      เนื่องจาก Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Quad-core Processor ความเร็ว 1.4 GHz นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการ rotate อ่านในแนวตั้ง หรือแนวนอน หรือแม้แต่การ Pinch-to-Zoom ก็ยังตอบสนองได้อย่างดีเยี่ยม


        อย่างไรก็ดี เบราเซอร์บน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) นั้น ไม่มีแท็บแบ่งแต่ละหน้าเว็บไซต์ในด้านบน ถ้าหากต้องการจะเพิ่มหน้าเว็บไซต์ใหม่ ต้องกดที่ปุ่มบนขวา แล้วกดเครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มหน้าเว็บไซต์ใหม่ หรือเปิดดูหน้าเว็บไซต์อื่นที่เปิดค้างไว้ ลักษณะคล้าย Safari บน iPhone




     ในส่วนของหน้าการใช้งานโทรศัพท์นั้น มี User Interface ใช้งานที่ง่าย และไม่ซับซ้อน โดยเมนูการใช้งานนั้น อยู่ในตำแหน่งด้านบน ส่วนหมายเลขโทรศัพท์ที่แสดงนั้น เห็นชัดเจนดี นอกจากนี้ ถ้าหากเป็นหมายเลขโทรศัพท์ที่ยังไม่เคยถูกบันทึกมาก่อน จะมีปุ่ม "เพิ่มในรายชื่อ" ขึ้นทันที ถือว่า สะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก


ฟีเจอร์ใหม่บน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3)


     ความพิเศษของ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ที่นอกเหนือไปจากสมาร์ทโฟนรุ่นพี่ ทั้ง Galaxy S II และ Galaxy S ก็คือ ฟีเจอร์การใช้งานแบบใหม่ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานนั่นเอง มาดูกันว่า ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่นั้น มีอะไรกันบ้าง
S Voice สั่งงานได้ด้วยเสียง




     สำหรับ S Voice นั้น ถือว่า เป็นฟีเจอร์ใหม่ และฟีเจอร์สำคัญบน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) เลยก็ว่าได้ โดยการทำงานของ S Voice นั้น คล้ายกับ Siri บน iPhone 4S นั่นก็คือ ใช้เสียงเพื่อสั่งให้ระบบทำงาน
S Voice สามารถใช้งานได้ทั้งหมด 8 ภาษาด้วยกัน นั่นก็คือ ภาษาอังกฤษ (สหราชอาณาจักร), ภาษาอังกฤษ (อเมริกา), ภาษาเยอรมัน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาอิตาลี, ภาษาละติน, ภาษาสเปน และภาษาเกาหลีครับ ใครเก่งภาษาไหน ลองทดสอบใช้งานกันดู


   ซึ่งหลังจากทดสอบใช้งาน S Voice แบบภาษาอังกฤษ พบว่า ยังฟังภาษาอังกฤษสำเนียงไทยๆ ไม่ออกครับ (ตอนที่ทดสอบการใช้งาน Siri ก็เกิดปัญหาแบบนี้เหมือนกัน) ซึ่งในคลิปวิดีโอรีวิว เลยใช้สำเนียงแบบฝรั่งๆ บน iPhone มาทดสอบกับ S Voice ดู ปรากฎว่า สามารถสั่งการได้

ส่วนการเปิดใช้งาน S Voice ทำได้โดยการกดดับเบิ้ลคลิ๊ก ที่ปุ่ม Home เพื่อเปิดใช้งาน
SmartStay



     หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นฟีเจอร์ไม่ให้หน้าจอดับขณะจ้องมอง ยก ตัวอย่างเช่น เราตั้งเวลาหน้าจอไว้ 1 นาทีหน้าจอถึงจะดับ ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ที่ด้านบนจะมีรูปลูกตาโผล่ขึ้นมา ถ้าหากเรายังคงจ้องมองหน้าจออยู่ หน้าจอก็จะไม่ดับ โดยการทำงานของ SmartStay นั้น จะใช้กล้องด้านหน้า จับสายตา และใบหน้าของผู้ใช้งาน ถ้าหากหันหน้าหนี หน้าจอก็จะดับลง แต่ไม่มีผลต่อการกระพริบตานะ มิเช่นนั้น กระพริบตา 1 ที หน้าจอดับ 1 ที คงไม่เป็นอันต้องใช้งานกันพอดี :D


S Beam
ฟีเจอร์ที่เราคุ้นเคยกันดีบน Samsung Galaxy Nexus กับการส่งไฟล์ผ่าน Wi-Fi Direct แทนการส่งผ่าน NFC แบบเดิมๆ ซึ่งทำให้สามารถส่งไฟล์ได้รวดเร็วกว่าเดิม โดยการใช้งานนั้น เพียงแค่เปิดฟังก์ชั่น S Beam แล้วแตะกับเครื่องที่ต้องการจะส่งไฟล์ครับ ซึ่ง S Beam นี้ มีข้อดีตรงที่ว่า หลังจากแตะเครื่องเพื่อจับคู่แล้ว สามารถแยกเครื่องออกจากกันได้เลยทันที โดยไม่ต้องจับเครื่องมาชนกัน หรือแตะใกล้ๆ กันจนกว่าจะส่งไฟล์เสร็จ


ทดสอบกล้อง ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล บน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3)




     สำหรับกล้องถ่ายรูปด้านหลัง บน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) นั้น มีความละเอียดเท่ากับ Samsung Galaxy S II นั่นก็คือ 8 ล้านพิกเซล พร้อม LED Flash เพียงแต่ว่า Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) นั้น ได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการถ่ายภาพให้ดีขึ้น


      โดยเมนูการใช้งานในส่วนกล้องถ่ายรูปของ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) จะมีลักษณะคล้ายกับ Samsung Galaxy S II เช่นกัน เพียงแต่มีโหมดใหม่เพิ่มเข้ามา นั่นก็คือ Burst shot โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง สูงสุด 3.3 รูปต่อวินาที ถ่ายภาพต่อเนื่องได้ 20 ภาพ และ HDR อีกทั้ง ยังมี Zero Shutter Lag ถ่ายภาพโดยไร้ความหน่วง กดชัตเตอร์ปุ๊บ จับภาพทันที และสามารถถ่ายต่อได้เลยอีกด้วย


     เสริมการถ่ายภาพฟังก์ชั่น Burst shot อีกเล็กน้อยครับ ถ้าหากผู้ใช้งานเลือก Burst shot พร้อมกับ Best photo ระบบจะเลือกภาพที่ดีที่สุดออกมาให้ โดยเป็นสัญลักษณ์คล้ายๆ กด Like บน Facebook


    ส่วนความละเอียดสูงสุดของภาพถ่าย อยู่ที่ 3264 x 2448 พิกเซล ลองมาดูตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องบน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3)






    ก่อนอื่น ต้องขอหมายเหตุไว้ก่อนนะครับว่า Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) รุ่นที่นำมารีวิวในครั้งนี้ เป็นรุ่นที่ซอฟท์แวร์ยังไม่สมบูรณ์ เลยไม่สามารถทำการรีวิวในบางจุดได้ อย่างไรก็ดี หลังจากที่ได้ทดลองใช้งาน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ได้ระยะหนึ่ง จึงขอสรุปตามความเห็นส่วนตัว ดังนี้

จุดเด่น

 1. ถ้าหากเทียบกับแอนดรอยด์โฟนที่เคยทดสอบมา Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ถือว่า ประมวลผลได้ดีกว่ามาก เนื่องจากใช้ซีพียูแบบ Quad-core Processor ความเร็วถึง 1.4GHz นั่นเอง

2. จอ Super Amoled ให้ความละเอียดชัดเจน หน้าจอที่มีขนาดใหญ่ทำให้มีพื้นที่การใช้งานเยอะขึ้น

3. ตัวเครื่องไม่ร้อน แม้ว่าจะใช้งานมาเป็นเวลานาน หรือใช้งานหนักก็ตาม จะรู้สึกแค่อุ่นๆ เท่านั้น

4. ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0.4 Ice Cream Sandwich เวอร์ชั่นล่าสุด (ณ ตอนนี้)

5. ระบบการสัมผัสลื่น ไม่หน่วง ไม่ค้าง

6. แบตเตอรี่ความจุเยอะมาก 2100 mAh หลังจากทดสอบใช้งานแบบปกติทั่วไป สามารถใช้งานได้นาน 10-11 ชั่วโมง (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคนด้วย)

7. มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เช่น S Voice, SmartStay

8. การท่องเว็บทำได้ดีครับผลการทดสอบ Java script benchmark จากต่างประเทศ Galaxy S3 ได้ 1,498.9ms คะแนน ดีกว่า iphone 4s และ Galaxy S2 ที่ได้คะแนน 2,181.6ms และ 3,445.3ms ตามลำดับ (ยิ่งน้อยยิ่งดี)


จุดด้อย

1. กล้องขนาด 8 ล้านพิกเซลอาจจะน้อยเกินไปถ้ามองในระยะยาว จริงๆแล้วก่อนเปิดตัวมีข่าวว่ากล้องจะมีความละเอียดที่ 12 ล้านพิกเซล ถึงแม้ว่าสำหรับ ณ.ปัจจุบันต้องถือว่า 8 ล้านพิกเซลก็เพียงพอต่อการใช้งานครับ แต่ถ้ามอง Samsung Galaxy S3 ในฐานะเรือธงของ ซัมซุง ซึ่งต้องออกมาแข่งขันกับเจ้าตลาดอย่าง Apple และราคาที่ต้องถือว่าเป็นราคามือถือระดับ high-end ความละเอียด 8 ล้านพิกเซลในระยะยาวอาจจะน้อยกว่าคู่แข่ง

2. ขนาดจอที่ใหญ่ขึ้น และตัวเครื่องที่หนาขึ้น จริงๆแล้วขนาดหน้าจอที่ใหญ่ขึ้นก็มีทั้งข้อดีข้อเสียครับ ข้อดีคือเรามีพื้นที่การใช้งานที่มากขึ้น ใช้ดูหนังฟังเพลงได้มากขึ้น แต่การพกพาอาจจะไม่สะดวกสำหรับบางคนที่ต้องการ มือถือขนาดที่ไม่ใหญ่มาก ส่วนตัวผมเชื่อว่า หน้าจอที่ใหญ่ขึ้นนอกจากเรื่องการใช้งานแล้วอาจจะมีเหตุผลจาก แบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้นที่ได้มาถึง 2,100 mAhที่ทำให้มือถือต้องการพื้นที่มากขึ้น สำหรับตัวเครื่องนั้น S2 หนากว่า S2 ที่ 8.6mm ต่อ  8.49mm จริงๆตัวเลขนี้ต้องบอกว่าแทบไม่เห็นความแตกต่าง แต่ก็ถือว่ายังหนากว่านิดหน่อย อย่างไรก็ดีการดีไซน์ ลักษณะโค้งมนก็ช่วยให้การจับกระชับกว่า S2 ครับ (ความเห็นส่วนตัว)

3.การใช้งานกลางแจ้งของจอ Super Amoled สำหรับคนที่เน้นการใช้งานกลางแจ้งตรงนี้อาจต้องลองใช้งานด้วยตัวเองดูครับ ตรงนี้เป็นจุดด้อยของเทคโนโลยีหน้าจอตอนนี้ที่ยังไม่เหมาะกับการใช้งานกลาง แจ้ง สำหรับคนที่ต้องการมือถือที่ใช้งานกลางแจ้งก็คงต้องมองไปที่มือถือที่มี เทคโนโลยีใช้งานได้ดีกลางแจ้งเช่น Clear black disply แต่ก็แลกไปกับความคมชัดและความสดใสของ Super Omled ที่ดีกว่า

4.สีสันของจอ Super Amoled สำหรับท่านที่ติดตามเทคโนโลยีหน้าจอจะทราบดีกว่าจอ Super Amoled นั้นให้สีดำที่สนิททำให้การเก็บรายละเอียดทำได้ดีมาก สีสันก็จะสดใสเป็นพิเศษ แต่บางคนที่ชอบหน้าจอที่ให้สีสันไม่สดใสมากดูเป็นธรรมชาติก็อาจจะชอบจอของ คู่แข่งอย่าง iPhone มากกว่า แต่ตรงนี้ขึ้นอยู่กับความชอบครับอย่างผมเองเวลาดูหนังชอบดูจาก Super Amoled แต่ถ้าดูภาพถ่ายก็จะชอบดูจากจอที่ไม่ใช่ Super Amoled

5. สุดท้าย  ผมน้อยใจที่ไม่มีสีดำ (ความเห็นส่วนตัวผมชอบมือถือสีดำ :D)

      สุดท้ายก่อนจบมีเรื่องแปลกที่ทุกคนพูดถึง เท่าที่ได้สัมผัสต้องบอกว่า Samsung Galaxy S3 ตัว จริงสวยกว่าในรูปมากพอสมควร ไม่รู้ทำไม :D ตอนเปิดตัวมีคนบ่นเรื่อง ดีไซน์พอสมควรแต่พอได้จับส่วนใหญ่จะบอกว่าสวยดี (แต่แอบอยากให้มีสีดำ) ผมเองก็รู้สึกเหมือนกัน สำหรับท่านไหนที่สนใจลองไปดูตัวจริงก่อนนะ

   แล้วดูว่าคิดเหมือนกันรึเปล่า สำหรับ Samsung Galaxy S3 ตอน นี้ต้องถือว่าเป็น Android Phone ที่เร็วสุดเป็นที่พูดถึงมากที่สุด จากการใช้งานบอกได้ว่าน่าใช้ Samsung เองก็เริ่มปรับกลยุทธ์ มีการเพิ่ม Application พร้อมมากับตัวเครื่องเพื่อเพิ่มความฉลาดของ Smartphone ของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นซึ่งถือเป็นแนวทางที่ดี ผู้บริโภคอย่างเราก็ได้ใช้สินค้าที่ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น  

  

บทความโดย : techmoblog.com 

ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ โปรดระวัง! มัลแวร์ (Malware) ตัวใหม่ๆ มาจากแอพฯ โหวตสาวๆ วง AKB48



     บริษัทแอนตี้ไวรัสชื่อดังอย่าง Symantec ได้พบมัลแวร์ (Malware) ตัวใหม่ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่มีชื่อว่า Bizzare malware ที่มีจุดประสงค์ในการจ้องทำลายแอนดรอยด์โฟนโดยเฉพาะ โดย Bizzare malware ได้อาศัยความดังของสาวๆ วง AKB48 ซึ่ง เป็นเกิร์ลกรุ๊ปชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น แฝงเข้าไปเป็นโทรจัน (trojan) ตัวย่อมๆ ในแอพพลิเคชั่นหลอกๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้โหวตสาวๆ วงนี้นั่นเอง




     เมื่อใดที่มีผู้หลงเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นดังกล่าว และ Install เรียบร้อยแล้ว Bizzare malware ก็จะทำการลบภาพทั้งหมดในโทรศัพท์ออกหมด และเปลี่ยนเป็นภาพหนูน้อยตาดำๆ คนนี้แทน

    อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องที่น่าโชคดีตรงที่ว่า แอพพลิเคชั่นอันตรายดังกล่าว ได้ถูกลบออกจาก Play Store เรียบร้อยแล้ว แต่นั่นก็ยังไม่สามารถไว้วางใจได้ เนื่องจากแอพพลิเคชั่นปลอมๆ เหล่านี้ ยังคงเกิดได้อยู่เรื่อยๆ ฉะนั้น ท่านใดที่ชื่นชอบสาวๆ วง AKB48 ก่อนจะดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นอะไรมาใช้งาน ควรจะดูให้แน่ใจก่อนนะว่า สมควรดาวน์โหลดหรือไม่



รายละเอียดเพิ่มเติม : BGR.com

iOS 6 vs iOS 5 : เทียบกันชัดๆ แบบจุดต่อจุด User Interface บน iOS 6 ต่างจาก iOS 5 อย่างไร?




      หลังจากที่ได้เห็นความสามารถใหม่ของ iOS 6 จาก บทความเจาะลึกฟีเจอร์ iOS 6 กันไปแล้ว จะเห็นได้ว่า iOS 6 มีฟีเจอร์การใช้งานในหลายส่วนที่เปลี่ยนแปลง และน่าใช้มากทีเดียว ซึ่งนอกจาก iOS 6 จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานแล้ว ในส่วนของ User Interface หรือ หน้าตาของ iOS 6 นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจาก iOS 5 บ้างเหมือนกัน แต่จะมีการเปลี่ยนในเรื่องใดบ้าง เราจะมาทำการเปรียบเทียบในแต่ละจุด ให้ดูกัน




       เริ่มกันที่หน้า Lock screen กันก่อน จะเห็นได้ว่า ในหน้า Lock screen บน iOS 6 ไอคอนรูปกุญแจได้หายไปแล้ว






      ในส่วนของการรีเฟรชอีเมลมาใหม่ iOS 5 นั้น เป็นไอคอนรีเฟรชด้านล่างซ้าย ส่วน iOS 6 จะเป็นการดึงจากบนลงล่าง เพื่อทำการรีเฟรช นอกจากนี้ แถบบาร์ด้านบน เปลี่ยนเป็นสีโทนฟ้าน้ำทะเล แทนที่สีเงินแบบเดิม




        

      บน iOS 6 นั้น สามารถเพิ่มรูป หรือวิดีโอได้จากหน้าเขียนอีเมลใหม่แล้ว โดยสามารถเพิ่มได้ครั้งละ 1 รูป





     Interface ของแอพพลิเคชั่นกล้องถ่ายรูปนั้น ได้มีการเปลี่ยนแถบบาร์ด้านล่าง จากสีเงิน เป็นสีดำ




    ในส่วนของ Camera Roll นั้น ได้เพิ่มปุ่ม Photo Stream เข้ามา ซึ่งจะต้องเปิดใช้งาน Photo Stream ก่อนในหน้า Settings




    ไอคอน Maps มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีการเปลี่ยนจาก Google Maps มาเป็น Apple Maps นั่นเอง




      แอพพลิเคชั่น Weathers มีการเปลี่ยน UI เล็กน้อย สังเกตตรงขอบ และเส้นแบ่งการพยากรณ์อากาศในแต่ละวัน




User Interface ของ Safari นั้น ได้มีการเปลี่ยนสีแถบบาร์ด้านบน จากสีเทา เป็นสีดำ




       นอกจากนี้ ยังสามารถแชร์หน้าเว็บเพจได้ ทั้งผ่านทาง อีเมล, Messages, Twitter หรือ Facebook รวมถึงสั่งพรินต์, Copy, Bookmark, เพิ่มในรายการ Reading List และเพิ่มเป็นไอคอนในหน้า Home Screen




      นอกจากนี้ การใช้ Safari ในแนวนอน จะสามารถเปิดหน้าเว็บนั้นๆ แบบ Full screen ได้ โดยกดที่ปุ่มลูกศรขยาย มุมล่างขวา




            ในส่วนของไอคอน Bookmarks นั้น มี iCloud Tabs เพิ่มเข้ามา






                          Game Center ได้มีการเพิ่มปุ่ม Challenges   





           ในส่วนของการใช้งานโทรศัพท์นั้น ได้มีการเปลี่ยน UI ใหม่ จากสีดำ เป็นสีเทาอ่อน แต่ความเห็นส่วนตัวคือ แบบเก่าดูสวยกว่า





Notification Center สามารถทวีตข้อความลง Twitter ได้จากส่วนนี้





       หน้า Settings ได้มีการเพิ่มส่วนของ Do Not Disturb เข้ามา และตัด Personal Hotspot ออก (แต่สามารถเปิดใช้งานได้ ในหมวด Cellular) ส่วนบาร์ด้านบน มีการเปลี่ยนสีเล็กน้อย

 


ส่วนการปิดการใช้งานเครือข่าย 3G ได้ถูกเอาออกไปบน iOS 6





          ในส่วนของ App Store นั้น ได้มีการ re-design เล็กน้อยครับ โดยเปลี่ยนจากพื้นหลังสีเทาเข้ม เป็นสีเทาอ่อน ดูสว่างขึ้น ในส่วนของแท็บ Featured นั้น เปลี่ยนจากการเลื่อนจากบนลงล่าง เป็นจากซ้ายไปขวา และตัดเมนู Top 25  ออก





   

          นอกจากนี้ iOS 6 ยังได้มีการปรับคีย์บอร์ดภาษาไทยให้เป็น 4 แถว จากเดิม 3 แถว ซึ่งการใช้งานในแนวตั้งนั้น อาจจะใช้งานยากซักเล็กน้อยครับ เนื่องจากระยะห่างระหว่างปุ่มนั้นน้อยมาก คนที่นิ้วใหญ่คงจะกดลำบากซักหน่อย แต่ถือว่า ใช้งานได้สะดวกขึ้นมากกว่าแต่ก่อน


          สำหรับด้านบนนั้น เป็นการเปรียบเทียบ User Interface ระหว่าง iOS 5 กับ iOS 6 แบบคร่าวๆ ครับ ซึ่งจริงๆ แล้ว อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้ สำหรับความเห็นส่วนตัวนั้น ชื่นชอบคีย์บอร์ดภาษาไทยแบบ 4 แถวครับ เนื่องจากพิมพ์ได้สะดวกขึ้นมาก แต่น่าเสียดายที่ปุ่มกดมีขนาดเล็กไปซักเล็กน้อยครับ ซึ่งส่วนที่ไม่ชอบบน iOS 6 คงจะเป็นหน้าโทรออก ที่เปลี่ยนจากสีดำ เป็นสีเทาอ่อน ความรู้สึกส่วนตัวคือ ชอบแบบเก่ามากกว่า เพราะสีเข้มแบบเดิมจะให้ความรู้สึกที่เป็นมิติมากกว่า


   อย่างไรก็ดี iOS 6 ที่เปิดให้นักพัฒนาได้ทดสอบใช้งานนี้ เป็นเพียงเวอร์ชั่น beta เท่านั้น ซึ่งการออกอัพเดทในเวอร์ชั่นถัดไป คงจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก และต้องออกแบบให้ผู้ใช้งานจริง ได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง ส่วนกำหนดการอัพเดท iOS 6 สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป จะสามารถอัพเดทได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึงนี้ หรือประมาณเดือนกันยายนนั่นเอง



บทความโดย : techmoblog.com


Old Town